Mar 03, 2022
23 ก.พ.65 "พะเยาเมืองแห่งการเรียนรู้"
หน่วย บพท. และ RDC ลงพื้นที่ จ.พะเยา
"เรียนรู้วิธีการทำจานใบไม้และผ้าพิมพ์ลาย"
โดยคุณสุดาและคุณณรงค์ ณ แหล่งเรียนรู้บ้านสวนศิริสุข ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
"เรียนรู้วิธีการทำไวน์ลูกหม่อนและสบู่สมุนไพรจากธรรมชาติ"
โดยคุณสุนันท์ และคุณสมบูรณ์ ณ แหล่งเรียนรู้บ้านสวนนนดา ต.บ้านต๋อม อ.เมือง จ.พะเยา
“เครือข่าย ความรู้ ผู้นำ และใจ”
"ผมจะไม่ไปไหน เพราะที่นี่คือบ้านผม"
เสียงจากคนพะเยา
ในงาน Hackathon ตลาดชุมชน ภายใต้การออกแบบสินค้ารักษ์สิ่งแวดล้อม (BCG Model) โดย นายศักดิ์ฤทธิ์ สลักคำ ผู้ว่าราชการจังหวัดพะเยา เป็นประธานเปิดงาน
#รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม : ปัจจัยที่นำไปสู่การลงทุนในท้องถิ่น กลไกคือ เป้าร่วม อดีต เป็นอย่างไร เห็นคุณค่า เห็นความสุขที่เกิดขึ้นจากการทำงาน ลูกหลานจะไปอย่างไรต่อ ท่านอธิการบดี ม.พะเยา ผู้บริหารที่มีพลัง ในส่วนของท้องถิ่น นายก อบจ. นายกเทศมนตรีเมืองพะเยา ภาคเอกชน สภาหอการค้า บ.พะเยาพัฒนาเมือง
สิ่งท้าทายคือ
1. จะเข้าไปสู่การลงทุนได้อย่างไร เนื่องจากมีความหลากหลายในพื้นที่
2. กลไกและกระบวนการของ Learning city คือความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อการศึกษาท้องถิ่น Local study
3. ระบบการเรียนรู้ปัจจุบันอาจไม่เพียงพอ อาจเกิดขึ้นจากเราจริงๆ หากทำถูกต้อง Learning City มีโอกาสที่ลูกหลานจะกลับมาอยู่ที่พะเยา
4. จะทำอย่รงไรให้เกิด Urban branding เกิดพื้นที่แห่งคุณค่า จะเรียงร้อยทุนทุกอย่าง ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมที่มีส่วนร่วม
มุ่งมั่นสร้างการเปลี่ยนแปลงโดยใช้องค์ความรู้ ต้องการกระบวนการระบบสังคมในพื้นที่ เป็นเจตนารมณ์จากท้องถิ่น นิเวศน์ของพะเยาที่สร้างขึ้นมาและถอดบทเรียน เป็นแรงบันดาลใจและเป็นองค์ความรู้
ยุทธศาสตร์ คือ ระบบนิเวศน์ของเมือง การเรียนรู้ซึ่งกันและกันทุกที่ เป็นการเรียนรู้ของเมือง เรียนรู้แล้วมีพลัง เป็นการเดินทางของแต่ละเมือง นี่คือสันฐานทั้งหมดที่จะเดินต่อไปข้างหน้าได้ จะทำอย่างไรให้คนกลับมาอยู่พะเยา มาเรียนรู้อะไร กลับมาที่ท้องถิ่นเป็นบทบาท และออกแบบกระบวนการ
#ศ.ดร.เสมอ ถาน้อย : 1. การสนับสนุนจาก บพท. และโจทย์วิจัย 2. พะเยา มี Landmark ที่สร้างเป็นพื้นที่การเรียนรู้ ตอนนี้ 18 แหล่งเรียนรู้ มีกายภาพพร้อม และสวยงาม 3. ผู้ใหญ่ระดับนโยบายเห็นความสำคัญ ทำให้เกิดกลไกการทำงานร่วมระดับนโยบาย ในปีที่หนึ่ง และปีที่สองที่มีการเปลี่ยนแปลงนายกฯ เทศบาล แต่ก็สามารถเดินและสานต่อได้ แม้จะมีการเปลี่ยนผู้บริหาร 4. กลไกการจัดการการศึกษา สร้างมาตรฐานการเรียนรู้ด้วย เครดิตแบงค์ สามารถเป็นหน่วยกิตของ ม.พะเยา ได้ 5. เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่ต่อเนื่องเกิดทิศทางที่ชัดเจน 6. เกณฑ์ตาม Unescoใช้ 4 ข้อ นำมาเป็นการขับเคลื่อนเมืองแห่งการเรียนรู้ 7. ทีมนักวิจัยนำโดยรศ.ดร.ผณินทรา ธีรานนท์ หัวหน้าโครงการ สร้างความร่วมมือในพื้นที่ สามารถรวมมหาวิทยาลัยกับชุมชนได้
#รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ : กระบวนการเรียนรู้ ใจที่พร้อมจะแบ่งปันให้กับคนอื่น เป็นตัวสำคัญที่จะทำให้เกิด Learning city เกิดการ sharing เห็นบทบาทของเทศบาลที่ทำทุกเรื่อง ในเชิงของกลไกหลักในการพัฒนาเชิงพื้นที่ จะมี อบต. อบจ. ที่นำไปขยับเชิงโครงสร้าง เพื่อผลักดันไปสู่แผนพัฒนาของเทศบาล ความต้องการที่สำคัญของสังคมจะเป็นปัจจัยนำเข้าที่จะเกิดกระบวนการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะท้องถิ่น จะเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัย กับ เอกชน นี่คือ “การปรับเปลี่ยนเชิงโครงสร้าง”
#ดร.อมรวิชญ์ นาครทรรพ์ : นักวิจัย ที่ทำให้เกิดความสำเร็จ อธิบาย เข้าใจกระบวนการทำงาน มีความต่อเนื่อง จะสร้างให้อาจารย์ท่านอื่น ๆ ให้เป็นแบบนี้ได้อีกอย่างไร จะเรียนรู้การสร้างคนทำงาน อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีใจทำงานแบบนี้ได้อย่างไร ที่จะทำให้พื้นที่มหาวิทยาลัยกลายเป็นพื้นที่ของชุมชน ที่ทำงานร่วมกันได้
#คุณสุทธิพงศ์ สุริยะ (อ.ขาบ) : นักปั้น brand เมืองไทย พะเยาเป็นเมืองที่ละมุน และมีเสน่ห์ เป็น key success เราต้องแตกต่างและมีรสนิยม จำเป็นต่อการทำงานพัฒนาชุมชน ชาวบ้านรู้ เน้นการสื่อสารเรื่องของรสนิยม อันหมายความถึงรากเหง้าที่มี style เป็นฐานในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
#นายอัษฎากรณ์ ฉัตรานันท์ เลขาฯ นายก อบจ.พะเยา : “เครือข่าย ความรู้ ผู้นำ และใจ” ต้องทำงานร่วมกับท้องถิ่น มหาวิทยาลัยเป็นภาคความรู้ซึ่งเติมเต็มสิ่งที่ขาดหายไป และมาตั้งโจทย์ร่วมกับท้องถิ่น จะทำให้เห็นปัญหา ช่องว่าง โครงสร้างที่แท้จริง
ภูมิปัญญาที่มีของปราชญ์ เป็นสิ่งที่เรียกว่า รสนิยม (สไตล์) สอดคล้องกับแนวคิดของ อ.สุธิพงศ์ (อ.ขาบ)
การเริ่มต้นจากประวัติศาสตร์ และเป็นเหตุผลของโครงการบ้านดินอู้ปู้จู้ จะทำให้เห็นถึงความร่วมมือและเดินต่อได้ เพราะจะทำให้เกิดความสัมพันธ์และสานต่อได้จากการทำกิจกรรมร่วมกัน
สนับสนุนการวิจัยโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.)