Feb 13, 2022
เมื่อวันที่ 21 มกราคม 2565 ที่ผ่านมา รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม รองผู้อำนวยการหน่วย บพท. ฝ่ายแผนและยุทธศาสตร์องค์กร ได้เข้าร่วมเวทีระดมความคิดเห็นการพัฒนาเขตระเบียงเศรษฐกิจเวลเนสอันดามันเสนอคณะกรรมการ Medical Hub และคณะรัฐมนตรี ณ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตภูเก็ต หน่วย บพท. มีบทบาทในการขับเคลื่อนงานวิจัยและนวัตกรรมในการพัฒนาเชิงพื้นที่เพื่อกระจายความเจริญและลดความเลื่อมล้ำ มีกลไกขับเคลื่อนที่สำคัญมากมาย ซึ่ง 1 ในนั้น คือกลไกการพัฒนาเมือง และหากกล่าวถึง “เมือง” พบว่ามีหลายมิติ บางเมืองเหมาะกับการอยู่บนฐานวัฒนธรรม บางเมืองอยู่บนพื้นฐานของทรัพยากรธรรมชาติ หรือ BCG และวาระใหม่ของโลกในการผลักดันเรื่องสุขภาพและระบบการแพทย์ หนึ่งในนั้นคือ เรื่องระบบอุตสาหกรรมสุขภาพหรือ Wellness City ซึ่งหลายหน่วยงานกำลังผลักดันเรื่องนี้ ในห่วงโซ่อุปทานใหม่ที่เกิดขึ้นในระบบเมืองยังถือเป็นบทบาทใหม่ที่สำคัญในการพัฒนาเมือง ระบบวิจัยสามารถผลักดันองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในประเทศไทยนำไปสู่การปฏิบัติ นำไปสู่การลงทุนอย่างเป็นระบบ โดยทางหน่วย บพท. ได้ผลักดันการเข้าไปทำให้เกิดเงื่อนไขการส่งเสริมกลไกและการลงทุน สิ่งที่ท้าทายต่อไปของ Wellness City และบทบาทของหน่วย บพท. คือ 1. สร้างโอกาสของคนในทุกช่วงวัย ทุกช่วงรายได้ ที่สามารถเข้าถึงบริการสาธารณะของเมืองสู่ภาคประชาชน เป็นหนึ่งในนัยสำคัญของภาควิชาการที่จะเป็นกำลังหนุนเสริมกิจการของหน่วยงานและพันธกิจของหน่วยงานภาครัฐต่อไป 2. การนำเข้าไปสู่ภาคตลาด โดยใช้กลไกความร่วมมือที่จะผลักดันเป็นระบบ เป็นคลัสเตอร์ย่อย เป็นประเด็นนัยสำคัญของการทำงานในระบบคณะกรรมการ หรือ ระบบต่างๆ ที่สร้างขึ้นมา จะส่งผลต่อการทำงานนี้ได้ Function บางอันอาจมีช่องว่างอยู่ เช่น ทางเทคโนโลยี ทางความรู้ งานวิจัยก็จะเข้าไปเติมเต็มในสิ่งที่ไม่รู้ เมื่อรู้แล้วจึงปฏิบัติได้ เมื่อปฏิบัติได้จึงเข้าไปสู่ส่วนของผู้ใช้ เพราะฉะนั้นในเรื่องของ Wellness City ไม่ได้มองแค่ Function อย่างเดียว จะต้องมองกลับไปถึงคุณภาพชีวิตในภาพรวมด้วย ดังนั้นโครงสร้างพื้นฐานที่รองรับกิจการเหล่านั้น ต้องลงไปคุยลึกๆ ว่าโครงสร้างพื้นฐานของเมืองด้าน Wellness นั้นเพียงพอหรือไม่ ขาดอะไรไป รวมไปถึงที่อยู่อาศัย ระบบการเดินทาง และระบบสาธารณูปโภคต่างๆ โครงสร้างพื้นฐานลักษณะใหม่ที่จำเป็นต้องยกระดับให้เร็วขึ้น คือ โครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล และโครงสร้างพื้นฐานด้านข้อมูลจะเข้าไปหนุนนำทำให้ระบบสุขภาพในเมืองดียิ่งขึ้น รศ.ดร.ปุ่น คาดหวังและมีความเชื่อว่าการป้องกันมีประสิทธิภาพสูงกว่าการแก้ไข หากเป็นเมืองสุขภาพเกิดขึ้นจริงไม่ใช่เป็นเมืองเพื่อที่จะไปรักษาโรค เป็นเมืองที่มีการป้องกันที่ดี หากเราสามารถผลักดันนโยบายสาธารณะเรื่องของการป้องกัน การส่งเสริมสุขภาพทุกช่วงวัย ก่อนที่จะเข้าไปสู่การรักษาได้ เงินเก็บที่มีอยู่จะได้ไม่ต้องนำมาใช้เรื่องการรักษาสุขภาพช่วงปลายของชีวิตเมืองสุขภาพที่คาดหวังคงไม่ใช่เมืองที่เป็นเทคโนโลยีอย่างเดียว แต่เป็นจิตสำนึกและสิ่งที่ปรารถนาของคนทุกคน